อาเซียนศึกษา

Towards ASEAN 2012: ก้าวสู่อาเซียน 2558



ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

 

เฉลิมฉลอง 'วันชาติอินโดนีเซีย' มุ่งพัฒนาประเทศ...ส่งเสริมการท่องเที่ยว


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) กำเนิดจากหมู่เกาะที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน หลังจากที่มีการประกาศตนเป็นอิสระจากประเทศเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ประเทศอินโดนีเซียได้กำหนดให้ วันที่ 17 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันชาติ คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม


40 ปี อาเซียนอาเซียนได้ขยายตัวทั้งในลักษณะจำนวนสมาชิกและขอบเขตความร่วมมือโดยความร่วมมือในแต่ละสาขาได้มีพัฒนาการในทางที่ใกล้ชิดและลงรายละเอียดมากขึ้นตามลำดับ ไทยซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศผู้ก่อตั้งได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้อาเซียนเริ่มนโยบายหรือมาตรการอันเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของอาเซียนโดยรวมมาโดยตลอดทั้งในด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้ ไทยยังได้ริเริ่มให้อาเซียนรับรองเอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 (ASEAN Vision 2020) ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดทิศทางและเป้าหมายการดำเนินงานในทุกด้านโดยมีแผนปฏิบัติการรองรับ คือ Hanoi Plan of Action ต่อมา อาเซียนได้จัดทำแผนปฏิบัติงานต่อเนื่องจาก Hanoi Plan of Action ซึ่งหมดอายุ  คือ แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Programme-VAP) ซึ่งเป็นแผนงาน 6 ปี (ปี 2547-2553) โดยครอบคลุมกิจกรรมด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

 
อาเซียนในปัจจุบัน
ผู้นำอาเซียนได้ลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Declaration of ASEAN Concord LL หรือ Bali Concord LL)  เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Community ภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน   โดยในด้านการเมืองให้จัดตั้ง “ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน” หรือ ASEAN Political Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจให้จัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ ASEAN Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง “ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน” หรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ต่อมา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้เร่งรัดการเป็นประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นกว่าเดิมอีก 5 ปี คือ เป็นประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปี 2558

 - การเป็นประชาคมการเมืองความมั่นคง ปัจจุบันอาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อจัดทำร่างแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community Blueprint) โดยมีเป้าหมายเพื่อ ก) สร้างประชาคมอาเซียนให้มีค่านิยมร่วมกัน ข) ให้อาเซียนสามารถเผชิญกับภัยคุมคามด้านความมั่นคงในรูปแบบใหม่ และ ค) เสริมสร้างให้อาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่หนักแน่นและสร้างสรรค์กับประชาคมโลกโดยมีอาเซียนเป็นผู้นำในภูมิภาค

 - การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ ปี 2550  ผู้นำอาเซียนได้ลงนามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community Blueprint) เพื่อให้อาเซียนมีความสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ และแนวโน้มการจัดทำข้อตกลงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการแข่งขันเพื่อดึงเงินลงทุนโดยตรงซึ่งมีแนวโน้มที่จะถ่ายโอนไปสู่ประเทศอื่นนอกภูมิภาคอาเซียนเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาเซียนต้องเร่งรัดการรวมกลุ่มภายในเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยมีเป้าหมายให้อาเซียนเป็น ตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ   การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค และการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจ

 - การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  เพื่อให้อาเซียนมีสังคมที่เอื้ออาทรและมีความมั่นคง ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีระดับการพัฒนาในทุกด้าน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของอาเซียน โดยได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านสังคม (ASEAN Socio-Cultural Community Plan of Action) เพื่อรองรับการเป็นประชาคมซึ่งเน้นใน 4 ด้าน ได้แก่ (1) การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร (2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ (3) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง และ (4) ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งรับรู้ข่าวสารซึ่งจะเป็นรากฐานที่จะนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน และขณะนี้ อาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนงานการจัดตั้งประชาคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
กฎบัตรอาเซียนจัดทำขึ้นเพื่อรับรองการเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงไว้ โดยต้องการให้อาเซียนเป็นองค์การระหว่างรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ มีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคล และสร้างประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ในกฎบัตรอาเซียนยังได้ระบุประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน อาทิ การมีเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน และการจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาท เป็นต้น

การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย
ไทยเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 41 ในเดือนกรกฎาคม 2551 ที่สิงคโปร์จนถึงเดือนธันวาคม 2552 ในช่วงการเป็นประธาน ไทยมีภารกิจในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับประเทศ รวมทั้งดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอาเซียน นอกจากนี้ยังจะเป็นโอกาสให้ไทยผลักดันประเด็นที่จะช่วยสนับสนุนผลประโยชน์ของไทยในกรอบอาเซียน ได้แก่ การปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน การทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยการส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชน รวมทั้งการเสริมสร้างการพัฒนาและการมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนในภูมิภาค

การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน
  โอกาสที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน ระยะเวลา 1 ปี ครึ่ง ระหว่างเดือนกรกฏาคม 2551 – ธันวาคม 2552 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน 1 ครั้งในปีนี้ และอีก 2 ครั้งในปี 2552 โดยจะเน้นเป้าหมายการดำเนินการ 3 เรื่อง (3 R) ได้แก่

  - การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Realising the Commitments under the ASEAN Charter) โดยเฉพาะในเรื่องการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆที่จะจัดขึ้น ได้แก่ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา และคณะมนตรีประสานงานอาเซียน เป็นต้น

  - การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalizing ASEAN as a people-centered Community) ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน

 - การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชนทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing human development and security for all the peoples of the region) โดยส่งเสริมให้การดำเนินความร่วมมือของอาเซียนตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาท้าทายต่างๆ เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น


ผู้นำอาเซียน
The Heads of State of 10 member nations of ASEAN
A head of state is an official who holds the highest position in a governance system of the state and has the vested powers to act as the chief public representative of a country. Heads of state in most countries are natural persons. In some countries however the office of the head of state is held by a body of persons ("collective head of state"). The role of the head of state generally includes legitimizing the state and exercising the political powers, functions, and duties granted to the head of state in the country's constitution and laws. In nation states the head of state is often thought of as the official "leader" of the nation. Head of government is the chief officer of the executive branch of a government, often presiding over a cabinet. In a parliamentary system, the head of government is often styled prime minister, chief minister, premier, etc. In presidential republics or absolute monarchies, the head of government may be the same person as the head of state, who is often also called a president or a monarch.
Brunei officially the Nation of Brunei, the Abode of Peace, is a sovereign state located on the north coast of the island of Borneo, in Southeast Asia. Apart from its coastline with the South China Sea, it is completely surrounded by the state of Sarawak, Malaysia, and it is separated into two parts by the Sarawak district of Limbang. It is the only sovereign state completely on the island of Borneo, with the remainder of the island belonging to Malaysia and Indonesia. Brunei's population was 401,890 in July 2011.
Cambodia officially known as the Kingdom of Cambodia, is a country located in the southern portion of the Indochina Peninsula in Southeast Asia. With a total landmass of 181,035 square kilometres (69,898 sq mi), it is bordered by Thailand to the northwest, Laos to the northeast, Vietnam to the east, and the Gulf of Thailand to the southwest. With a population of over 14.8 million, Cambodia is the ...68th most populous country in the world. The official religion is Theravada Buddhism, which is practiced by approximately 95% of the Cambodian population. The country's minority groups include Vietnamese, Chinese, Chams and 30 various hill tribes. The capital and largest city is Phnom Penh; the political, economic, and cultural center of Cambodia. The kingdom is a constitutional monarchy with Norodom Sihamoni, a monarch chosen by the Royal Throne Council, as head of state. The head of government is Hun Sen, who is currently the longest serving leader in South East Asia and has ruled Cambodia for over 25 years.
 
อาเซียนศึกษา (ASEAN STUDIES):

แหล่งหนังสือเกี่ยวกับอาเซียนที่น่าสนใจ: ภาษาไทย English

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ชุด1


เพลงอาเซียน The ASEAN Way วิถีของอาเซียน


2009 ASEAN Summit Theme Song (อาเซียนร่วมใจ)




รายชื่อประเทศที่คนไทยไม่ต้องขอวีซ่า ( VISA ) ประเภท Passport ธรรมดา Update : August 2012 !!!
ประโยชน์ของ หนังสือเดินทางธรรมดาของไทย (สีเลือดหมู) คือ เป็นเอกสารสำหรับใช้เดินทางไปยังต่างประเทศ นอกเหนือจากนั้น หนังสือเดินทางเล่มนี้ยังให้สิทธิแก่ท่านทั้งหลายให้สามารถเดินทางไปยังต่างประเทศได้ถึง 22 แห่ง โดยไม่จำเป็นต้องขอวีซ่า ดังนี้
ระยะเวลา 90 วัน 1. อาร์เจนติน่า 2. บราซิล 3. ชิลี 4. เกาหลีใต้ 5. เปรู 6. เอกวาดอร์
ระยะเวลา 30 วัน 1. ฮ่องกง 2. อินโดนีเซีย 3. ลาว 4. มาเก๊า 5. มองโกเลีย 6. มาเลเซีย 7. มัลดีฟส์
8. รัสเซีย 9. สิงคโปร์ 10. แอฟริกาใต้ 11. เวียดนาม 12. เซเซลส์ *** 13. ตุรกี ( ล่าสุดแก้ไข 24 สิงหาคม 2555)
ระยะเวลาน้อยกว่า 30 วัน
1. ฟิลิปินส์ พำนักอยู่ได้ 21 วัน
2. บาห์เรน พำนักอยู่ได้ 15 วัน
3. บรูไน พำนักอยู่ได้ 14 วัน
4. กัมพูชา พำนักอยู่ได้ 14 วัน
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซอยสวนพลู ถนนสาธรใต้ กรุงเทพฯ 10120 โทร. 0-2287-3101-10 หรือ http://www.immigration.go.th/

แหล่งหนังสือเกี่ยวกับอาเซียนที่น่าสนใจ: ภาษาไทย English




NEWS LINKS:  1

No comments:

Post a Comment